วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ทฤษฎีพัฒนาการ ขั้นพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจต์



ฌองต์ เพียเจต์ ( Jean Piaget ) นักจิตวิทยาชาวสวีส กล่าวว่า ปัจจัยในการพัฒนาความคิดและเชาว์ปัญญา คือการที่คนได้ร่วมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กรู้จักตัวตน และมีการปรับตัว ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความสมดุล
                เพียเจต์ ได้ให้หลักเกณฑ์ของกระบวนการการพัฒนาทั้งสติปัญญาและความรู้คิดไว้  4 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ระยะของการใช้ระบบประสาทสัมผัส นับตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ขวบ เป็นวัยที่เด็กจะสามารถพูดได้ เด็กเรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม พยายามพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องอาศัยปัญหาเป็นสื่อ เป็นระยะพัฒนาทางเชาว์ปัญญา โดยใช้การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เริ่มเรียนรู้เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ระยะนี้ถ้าเด็กมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าไรก็จะช่วยเกิดการพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาและความคิดของเด็กมากเท่านั้น การเคลื่อนไหวแบบนี้เป็นไปตามอัตโนมัติ ไม่ได้ใช้เชาว์ปัญญามาเกี่ยวข้องมากนัก จะรับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม ยิ่งมีการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมมาก ก็จะมีเชาว์ปัญญากว้างมากยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 2 ระยะเตรียมความคิดที่มีเหตุผล ระยะ 2-7 ขวบ เด็กยังคิดอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรม และใช้ภาษาเป็นสื่อช่วยในการพัฒนาความคิดและเชาว์ปัญญา เด็กเริ่มรู้จักใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนมองเห็นหรือรับรู้เท่านั้น ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ในการคิดและกระทำต่าง ๆ สนใจแต่ตัวเอง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นไม่ได้ ยังไม่สามารถอธิบายเหตุผลของตนเองให้คนอื่นฟังได้ ยังมาสามารถตอบคำถามว่า ทำไมเริ่มเรียนรู้สิ่งแวดล้อมมากขึ้น เริ่มรู้จักจัดจำพวกสิ่งของว่าเหมือนหรือแตกต่างกันได้

ขั้นที่  3 ระยะของการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม ระยะ 7 11 ปี เด็กระยะนี้สามารถคิดอย่างมีเหตุผล แต่กระบวนการคิดและการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหายังต้องอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรมวัตถุ หรือเหตุการณ์ที่ประสบจริง ๆ เริ่มรู้จักการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา รู้จักจินตนาการ คาดการณ์ สามารถคิกกลับไปกลับมาได้ เริ่มมีความคิดยืดหยุ่น มองเหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ ได้หลายแงหลายมุมขึ้น รู้จักขนาด สามารถเรียงลำดับ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้ จำแนกประเภทได้ รู้จักหาความสัมพันธ์ รับความคิดของผู้อื่นได้ สรุปกฎเกณฑ์ได้  สามารถเข้าใจถึงการเปรียบเทียบว่าไม่มีสิ่งใดต่ำกว่า มากกว่า น้อยกว่า โดยสมบูรณ์สามารถคิดในเชิงอุปมานได้ สามารถคิดคำนวณได้

ขั้นที่  4 ระยะของการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม ระยะ 11 15 ปี สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีการคิดที่อิสระขึ้น สามารถหาเหตุผลได้ดี รู้จักคิดแก้ปัญหาของวิทยาศาสตร์โดยรู้จักตั้งสมมติฐาน สามารถประเมินความคิดของตนเองได้ ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง สามารถหาความรู้ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้ สามารถสรุปความคิดได้ถูกต้อง สามารถที่จะคิดย้อนกลับได้อย่างสมบูรณ์ ชั้นนี้เป็นระยะที่เด็กมีความสามารถทางสมองสมบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น