วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติ



นางสาว จารุวรรณ  ศักดิ์สิทธิ์

ชื่อเล่น MIW

วัน /เดือน / ปีเกิด 31 / 12 / 34

ค.บ.  การประถมศึกษาหมู่  1  รหัส   534188013  

คณะ ครุศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย Boy And Girl


ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดูแลเด็ก  เพราะถือว่าเด็กเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ  เป็นผู้สืบทอดความดีงามต่างๆ  จากผู้ใหญ่  รวมทั้งวัยเด็กยังถือเป็นรากฐานที่สำคัญของความเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้  กระทรวงศึกษาธิการ  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูและในการจักการศึกษาสำหรับประชาชนในประเทศ  ได้กำหนดนโยบายส่งเสริมให้มีการลงทุนเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้มีการดูแลเด็กปฐมวัยมากขึ้น  ไม่จำเพราะแค่เด็กปกติเท่านั้น  แต่ยังรวมถึงเด็กพิการ  หรือเด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ  ซึ่งนโยบายดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การดำเนินการของสหประชาชาติ  ว่าด้วยแผนปฏิบัติการณ์ดาการ์  ซึ่งกำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานว่าด้วยการศึกษาขั้นปวงชน  และสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ  ซึ่งกำหนดสิทธิของเด็ก  4  ประการ  ได้แก่  สิทธิในการอยู่รอด สิทธิในการพัฒนา  สิทธิในการคุ้มครอง  และสิทธิในการมีส่วนร่วม  นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  และแก้ไขเพิ่มเติม                     (ฉบัที่2)  พุทธศักราช2545  มาตรา18  กำหนดให้การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา  ดังต่อไปนี้  (1)  สถานพัฒนาเด็กปฐมอยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาอย่างเต็มที่  (2) โรงเรียน  (3)  ศูนย์การเรียน
พัฒนาการเด็กปฐมวัยหมายถึง  เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด  จนถึง 6ปี และพัฒนาการในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จะเห็นได้ว่า การเจริญเติบโตของเด็กในวัยนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย  ดังนี้
1.  พัฒนาทางด้านร่างกาย  เนื่องจากธรรมชาติของเด็กวัยนี้จะไม่อยู่นิ่ง  ลักษณะของเด็กในวัยนี้มักกระฉับกระเฉง  ช่างเล่น ช่างคุย ร่าเริงแจ่มใส แม้ว่าการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายค่อนข้างรวดเร็ว แต่เด็กในวัยนี้กล้ามเนื้อยังไม่ค่อยแข็งแรง การเดินทรงตัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ท่าทางดูเก้งก้าง หกล้มง่าย
2. พัฒนาทางด้านอารมณ์  เด็กในวัยนี้มักคิดถึงแต่ตนเอง  เมื่อถูกขัดใจจะไม่พอใจ เด็กในวัยนี้ต้องการกำลังใจและการยกย่องชมเชย การพัฒนาอารมณ์ของเด็กในวัยนี้ควรช่วยให้เด็กรู้จักปรับอารมณ์ให้มั่นคง เบิกบาน รู้จักอดทน ไม่เอาแต่ใจ หากเด็กสามารถพัฒนาทางด้านอารมณ์ได้เด็กจะเติบโตเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีรู้จักชื่นชมสิ่งต่างๆรอบตัว
3.   พัฒนาทางด้านสังคม เด็กปฐมวัยชอบทำงานคนเดียว เล่นคนเดียว อาจจะยังไม่เข้าใจการอยู่ร่วมกับผู้อื่น นอกจากนี้เด็กในวัยนี้ชอบให้ตนเป็นที่ยอมรับ ผลงานได้รับการชมเชย การพัฒนาทางด้านสังคมสำหรับเด็กในวัยนี้คือ ฝึกให้เด็กเกิดความไว้ใจในผู้อื่นเมื่ออยู่ร่วมกัน ทำงานและเล่นร่วมกับผู้อื่นได้ มีความรับผิดชอบในการทำงานต่างๆได้ ให้เด็กเข้าใจข้อตกลงและกฎเกณฑ์ต่างๆ  ฝึกให้รู้จักรอคอยอดทน หัดให้เด็กรับฟังผู้อื่น เพื่อให้เขาเข้าใจว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก
4.  พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กในวัยนี้ช่างพูด อยากรู้อยากเห็น และมีคำถามตลอดเวลา ผู้ใหญ่ควรปิดโอกาสให้เด็กทำ ลงมือปฏิบัติจริง โดยจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้สอดคล้องกับการพัฒนาของเด็กในวัยนี้ และพยายามตอบคำถามของเด็ดเท่าที่จะทำได้ ควรปิดโอกาสให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ ควรส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา และจริยธรรม
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของเด็กปฐมวัย


จากพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย พบว่าองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการพื้นฐาน 2 กระบวนการ คือ
1.  วุฒิภาวะ ( Maturation ) หมายถึง ผลรวมที่เกิดจากอธิพลของยีนส์ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นตัวควบคุมแบบแผนของร่างกาย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆ ในระดับอายุต่างๆ โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้ แต่ต้องอยู่ในภาวะแวดล้อมที่ปกติกล่าวคือ การที่เด็กเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้นนั้น เด็กจะแสดงลักษณะอย่างหนึ่งๆ ให้เห็น เช่น เมื่อเด็กถึงช่วงระยะหนึ่งเด็กจะสามารถคลานได้ และเมื่อกล้ามเนื้อหรือกระดูกแข็งแรงเด็กจะมีความพร้อมจะเดินได้ เป็นต้น
2.  การเรียนรู้( Learning ) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลเนื่องมาจาก ประสบการณ์หรือการฝึกหัด นั่นคือ กิจกรรมต่างๆที่เด็กได้กระทำหรือการเรียนของเด็กที่ต้องการฝึกหัด การทดลอง ซึ่งการเรียนรู้จะสมบูรณ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการฝึกหัด การฝึกฝน และต้องมีความมุ่งหมายของการเรียนนั้นๆด้วยจึงจะทำให้การเรียนรู้ของบุคคลดียิ่งขึ้น การเรียนรู้ทำให้เด็กมีประสบการณ์ต่างๆเพิ่มขึ้น เพราะเด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ได้เห็น ได้ฟัง และได้สัมผัส

อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น ลักษณะการพัฒนาการจะต้องมีองค์ประกอบ สำหรับการจะพัฒนาบุคคลได้ ซึ่งประกอบด้วย
1.องค์ประกอบภายในร่างกาย ประกอบด้วย
  -  พันธุกรรม
  -  การมีวุฒิภาวะ
 2. องค์ประกอบภายนอกร่างกาย 
  - การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค 
  - การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ 
  - การเรียนรู้โดยการสังเกต 
3. องค์ประกอบภายในและภายนอกร่างกาย
  - ลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
  - สภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีผลต่อสภาพจิตใจของเด็ก
  - สภาพทางสังคม และวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ

ทฤษฎีพัฒนาการ ขั้นพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของเพียเจต์



ฌองต์ เพียเจต์ ( Jean Piaget ) นักจิตวิทยาชาวสวีส กล่าวว่า ปัจจัยในการพัฒนาความคิดและเชาว์ปัญญา คือการที่คนได้ร่วมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้เด็กรู้จักตัวตน และมีการปรับตัว ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความสมดุล
                เพียเจต์ ได้ให้หลักเกณฑ์ของกระบวนการการพัฒนาทั้งสติปัญญาและความรู้คิดไว้  4 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ระยะของการใช้ระบบประสาทสัมผัส นับตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ขวบ เป็นวัยที่เด็กจะสามารถพูดได้ เด็กเรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม พยายามพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องอาศัยปัญหาเป็นสื่อ เป็นระยะพัฒนาทางเชาว์ปัญญา โดยใช้การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เริ่มเรียนรู้เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ระยะนี้ถ้าเด็กมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าไรก็จะช่วยเกิดการพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาและความคิดของเด็กมากเท่านั้น การเคลื่อนไหวแบบนี้เป็นไปตามอัตโนมัติ ไม่ได้ใช้เชาว์ปัญญามาเกี่ยวข้องมากนัก จะรับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม ยิ่งมีการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมมาก ก็จะมีเชาว์ปัญญากว้างมากยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 2 ระยะเตรียมความคิดที่มีเหตุผล ระยะ 2-7 ขวบ เด็กยังคิดอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรม และใช้ภาษาเป็นสื่อช่วยในการพัฒนาความคิดและเชาว์ปัญญา เด็กเริ่มรู้จักใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนมองเห็นหรือรับรู้เท่านั้น ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ในการคิดและกระทำต่าง ๆ สนใจแต่ตัวเอง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นไม่ได้ ยังไม่สามารถอธิบายเหตุผลของตนเองให้คนอื่นฟังได้ ยังมาสามารถตอบคำถามว่า ทำไมเริ่มเรียนรู้สิ่งแวดล้อมมากขึ้น เริ่มรู้จักจัดจำพวกสิ่งของว่าเหมือนหรือแตกต่างกันได้

ขั้นที่  3 ระยะของการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงรูปธรรม ระยะ 7 11 ปี เด็กระยะนี้สามารถคิดอย่างมีเหตุผล แต่กระบวนการคิดและการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหายังต้องอาศัยสิ่งที่เป็นรูปธรรมวัตถุ หรือเหตุการณ์ที่ประสบจริง ๆ เริ่มรู้จักการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา รู้จักจินตนาการ คาดการณ์ สามารถคิกกลับไปกลับมาได้ เริ่มมีความคิดยืดหยุ่น มองเหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ ได้หลายแงหลายมุมขึ้น รู้จักขนาด สามารถเรียงลำดับ จัดหมวดหมู่สิ่งของได้ จำแนกประเภทได้ รู้จักหาความสัมพันธ์ รับความคิดของผู้อื่นได้ สรุปกฎเกณฑ์ได้  สามารถเข้าใจถึงการเปรียบเทียบว่าไม่มีสิ่งใดต่ำกว่า มากกว่า น้อยกว่า โดยสมบูรณ์สามารถคิดในเชิงอุปมานได้ สามารถคิดคำนวณได้

ขั้นที่  4 ระยะของการคิดอย่างมีเหตุผลเชิงนามธรรม ระยะ 11 15 ปี สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น มีการคิดที่อิสระขึ้น สามารถหาเหตุผลได้ดี รู้จักคิดแก้ปัญหาของวิทยาศาสตร์โดยรู้จักตั้งสมมติฐาน สามารถประเมินความคิดของตนเองได้ ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง สามารถหาความรู้ในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้ สามารถสรุปความคิดได้ถูกต้อง สามารถที่จะคิดย้อนกลับได้อย่างสมบูรณ์ ชั้นนี้เป็นระยะที่เด็กมีความสามารถทางสมองสมบูรณ์

กิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพ




ในหนังสือเล่มนี้ ได้เสนอตัวอย่าง การดำเนินการกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพเด็กพิการ และเด็กปฐมวัย โดยแบ่งออกเป็น 6 ทักษะประกอบด้วย ตัวอย่างเช่น
  1.   ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่

·       กิจกรรมเดินเป็ด
·       กิจกรรมเตะบอลใส่ตะกร้า
·       กิจกรรมกระโดดเชือก
·       กิจกรรมขุนพลใส่เสบียง
·       กิจกรรมช้า – เร็ว – เพิ่มพลัง
·       กิจกรรมคลานลอดถ้ำ
·       กิจกรรมพายเรือ
·       กิจกรรมโยบาสเกตบอล
·       กิจกรรมไก่ขาหัก
·       เขย่งหาเบี้ย เป็นต้น